มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่คู่สังคมมาเป็นเวลาช้านาน โดยมีเป้าหมายหลัก คือเป็นสถาบันวิจัยค้นคว้าหาความรู้ แล้วนำเอาความรู้ที่ได้มานั้นถ่ายทอดโดยการสอนและการให้บริการแก่สังคม มหาวิทยาลัยจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญก้าวหน้า ทางด้านวิชาการความน่าเชื่อถือศรัทธา และเป็นความหวังของสังคมในการพัฒนาคน ให้เป็นทรัพยากรของชาติที่สมบูรณ์ด้วยคุณภาพเมื่อท่านได้ก้าวเข้ามาสู่รั้วมหาวิทยาลัย ในฐานะอาจารย์คนหนึ่ง ท่านย่อมตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของท่านเป็นอย่างดีว่า นอกจากภาระงานสอนแล้ว การค้นคว้าวิจัย การให้คำแนะนำปรึกษา และการให้บริการทางวิชาการก็เป็นหน้าที่สำคัญที่ท่านพึงปฏิบัติด้วย ซึ่งผลจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนี้อาจออกมาในรูปของเอกสารวิชาการ ตำรา หนังสือ บทความ รายงานวิจัย ฯลฯ อันจะมีส่วนช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ผลงานทางวิชาการที่ท่านได้สรรสร้างขึ้นดังกล่าว ยังช่วยนำท่านไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการและเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอีกด้วย
ตำแหน่งทางวิชาการ หมายความถึง วิทยฐานะที่ทรงเกียรติของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยตำแหน่งศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อาจารย์ที่สนใจจะเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ควรศึกษาและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง อันได้แก่ ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วยมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีแต่ตั้งคณาจารย์ในอุดมศึกษาเอกชนให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2547 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 ทำให้คณาจารย์ที่ประสงค์จะขอตำแหน่งทางวิชาการ หลังจากวันที่ 3 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไปจะต้องเตรียมเอกสารตลอดจนกระบวนการต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่
หมายเหตุ ถ้าท่านอาจารย์มีข้อสงสัยขอให้สอบถามโดยตรงที่ผู้อำนวยการสำนักฯ โดยสำนักงานฯจะจัดชี้เเจงรายละเอียดเร็วๆนี้ค่ะ เนื่องจากขั้นตอนหลายขั้นตอนต้องจัดทำขึ้น และต้องได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยก่อน
คณาจารย์ที่ประสงค์จะขอตำแหน่งทางวิชาการ ขอให้ส่งแบบ กสอ.01 และผลงานทางวิชาการ ซึ่งผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในระดับเบื้องต้น และคณะกรรมการประจำคณะ มายังสำนักงานมาตรฐานวิชาการ ตามกำหนดรับเรื่องดังแสดงข้างล่างนี้
ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ
- มาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีแต่งตั้งคณาจารย์ในอุดมศึกษาเอกชนให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
- หลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินผลการสอน
- หลักเกณฑ์การมีส่วนร่วมในงานทางวิชาการ
- คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการและการตีพิมพ์เผยแพร่
- เกณฑ์การกำหนดคะแนนผลงานทางวิชาการสำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
- พระราชบัญญัติ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2550
การขอรับทุนสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันวิจัยสนับสนุนงานวิจัย 4 ประเภท คือ
1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาที่มุ่งแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์อย่างมีระเบียบแบบ แผน เพื่อนำไปใช้ทดสอบและ/หรือสร้างทฤษฏีอธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ
2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้นั้นไป ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นการนำเอาความรู้และวิชาการต่างๆ ที่ได้จากการวิจัยพื้นฐานมาประยุกต์ใช้อีกต่อหนึ่ง และให้ระบุเพิ่มเติมด้วยว่าเป็นการวิจัยตามความต้องการของมหาวิทยาลัยรังสิต หรือเป็นการวิจัยทั่วไป
3. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เป็นการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา คิดค้นอย่างเป็นระบบและน่าเชื่อถือ โดยมีเป้าหมายในพัฒนาผลผลิต เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ สื่อ อุปกรณ์ เทคนิควิธี รูปแบบการทำงาน หรือระบบการบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
คณาจารย์คณะศิลปะและการออกแบบที่ประสงค์จะขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยหรือผลงานสร้า้งสรรค์ต้องยื่นแบบเสนอโครงการวิจัย มรส. 80 (Rev. 2551) จำนวน 3 ชุด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสถาบันวิจัย www.rsu.ac.th/rri หรือขอรับแบบฟอร์มได้ที่ สถาบันวิจัย ชั้น 5 ห้อง 505 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ โทร. 5686 - 5692
ระยะเวลาในการรับสมัคร
รอบที่ 1 เดือนมิถุนายนของทุกปี
รอบที่ 2 เดือนกันยายนของทุกปี
รอบที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
กฏระเบียบในการขอทุน
มรส.80 แบบฟอร์มการขอทุน
มรส.81 สัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย
หลักเกณฑ์ในการของบประมาณโครงการวิจัย ในการขอทุนสนับสนุนโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Download รายละเอียดเอกสารได้ที่ http://www.rsu.ac.th/rri/document.php?docid=2